วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

ประเภทของผ้า



1.ผ้าฝ้าย
2.ผ้าฝ้ายผสมกับผ้าใยสังเคราะห์
3.ผ้าโพลิเอสเตอร์
4.ผ้าขนสัตว์
5.ผ้าสแปนเด็กซ์
6.ผ้าไหม
7.ไนลอน
8.ผ้าทอ
9.ผ้าถัก
10.ผ้าลินิน
การพัฒนาของสีสังเคราะห์



ในปี ค.ศ. 1856 วิเลี่ยม เพอร์คิน (William Perkin) ได้ค้นพบสีสังเคราะห์โดยบังเอิญจากการพยายามสังเคราะห์ยาควินนิน เพื่อใช้รักษาโรคมาลาเรีย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาถือเป็นยุคที่ 2 ของสีย้อมผ้าซึ่งเป็นจุดสำคัญของการแบ่งแยกยุคสมัยของสีย้อมผ้าจากยุคสีย้อมธรรมชาติมาสู่ยุคสีย้อมสังเคราะห์ สืบเนื่องจากการค้นพบของ วิเลี่ยม เพอร์คิน ทำให้มีการคิดค้นสีชนิดใหม่ๆ เพิ่มขึ้นประมาณ 500 กว่าชนิดภายในปี ค.ศ.1900 โดยประเทศอังกฤษ เยอรมันนี และฝรั่งเศส เป็นประเทศ ที่มีการพัฒนาสีสังเคราะห์มากที่สุด ในยุคที่ 2 นี้ การใช้สีสังเคราะห์เป็นไปอย่างแพร่หลายจนแทนที่การใช้สีย้อมธรรมชาติโดยสิ้นเชิง ช่วงทศวรรษ 1950 ถือเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของการคิดค้นสีย้อมสังเคราะห์เพราะเป็นช่วงที่ สีรแอคทีฟ (Reactive Dye) ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเป็นสีที่มีความยิดเกาะกับเส้นใยสูงโดยอาศัยพันธะ ทางเคมี ทำให้ได้ผลลัพธ์คือความคงทนของสีย้อม และสีที่สดใส



ประวัติการย้อมสีผ้า


การย้อมผ้าเป็นงานศิลป์ที่อยู่คู่กับวัฒนธรรมมนุษย์มาอย่างยาวนาน ย้อนหลังไปหลายพันปีโดยประเทศจีนถือเป็นชนชาติแรกที่ปรากฏหลักฐานว่ามีการย้อมผ้า (ตั้งแต่ 3,000 ปี ก่อนคริสกาล) นอกจากนี้ยังพบชนชาติอื่นๆ ที่มีการย้อมผ้า เช่น ชาวยุโรปในยุคโลหะ (2,500 ถึง 800 ปี ก่อนคริสตกาล) ชาวอินเดีย (2,500 ปี ก่อนคริสตกาล) และชาวอียิปต์ (1,450 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่พบหลักฐานการย้อมผ้าด้วยสีสันหลากหลาย ในสมัยโบราณ มนุษย์ตกแต่งผ้าจากวัสดุธรรมชาติชนิดต่างๆ เช่น การใช้ใบไม้ ดอกไม้ หรือกิ่งไม้ ยึดติดกับผ้าด้วยไข่ขาว หรือเลือด อีกวิธีหนึ่งคือการถูวัสดุที่มีสีต่างๆ ลงบนผ้า ซึ่งมีข้อเสียคือไม่ทนต่อการซักล้าง และการสวมใส่ จนกระทั่งมนุษย์สามารถค้นพบวิธีการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติโดยการนำผลไม้ไปตำให้ละเอียดแล้วนำมาต้มรวมกับผ้า ทำให้เส้นใยผ้าเปลี่ยนสี และทนต่อการซักล้างมากขึ้น  สีย้อมธรรมชาติส่วนใหญ่จะได้มาจากพืช หรือสัตว์ เช่นสีแดง ได้มาจากครั่ง ซึ่งเป็นแมลงตัวเล็กๆ  สีน้ำเงิน ได้จากคราม  สีดำ ได้มาจากผลของมะเกลือ  สีเหลืองได้มาจากขมิ้น เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เลือกซื้อผ้าอย่างไร ? ให้ห่างไกล...สารเคมี !!

ข้อแนะนำก็คือ

1.แหล่งผลิต ผู้เชียวชาญกล่าวว่า สีจากสารเคมีมักมีปัญหากับผิวหนัง ซึ่งสารเคมีบางชนิดมักมีปัญหากับผิวหนัง และสารเคมีบางชนิดมีข้อห้ามใช้ แต่ในประเทศที่มีค่าแรงถูก เช่น จีนหรืออินเดีย ไม่มีข้อห้ามในการใช้สีอันตราย
2.หลีกเลี่ยงผ้า Polymid เพราะผ้าที่ทำจากเส้นใยดังกล่าวติดสีได้ดีกว่าจึงมีความปลอดภัยกว่า
3.ผ้าสีอ่อนดีกว่าสีเข้ม หากผ้ามีสีเข้มมากเท่าไหร่สีก็จะยิ่งตกได้ง่าย เมื่อโดนเหงื่อเช่น สีดำและสีน้ำเงินตกสีได้ง่ายกว่าสีขาวสีเบจ หรือสีน้ำตาลอ่อน
4.อ่านข้อบ่งใช้ หากเขียนว่า ให้แยกซักแสดงว่าสีย้อมผ้าไม่คงทน สีตกได้เมื่อสวมใส่รวมทั้งสีนีออน
5.ผ้าไม่ต้องรีดแน่นอนว่าผ้าที่ไม่มีรอยยับย่นย่อมดีแน่แต่สวมใส่แล้วผิวแดงแสดงว่าคุณแพ้สารเคมีที่ทำให้ผ้าเรียบ
6.ระวังลายพิมพ์ ภาพพิมพ์สีต่างๆ ของเสื้อยึดดูเท่ๆ เก๋ๆ แต่มันทำจาก PVC ซึ่งสามารถทำให้ฮอร์โมนของเราแกว่งไกวได้ ข้อแนะนำก็คือ ควรใส่เสื้อตัวเล็กไว้ด้านในป้องกันอีกชั้นหนึ่ง
7.ผ้าฝ้ายธรรมชาติ หากเป็นผ้าฝ้ายที่เข้าเครื่องซักผ้าได้แสดงว่า มีสารเคมีที่ทำให้ผ้าแข็งไม่ยุ่ยและมีสาร Plasticizer ซึ่งเป็นสารอันตราย จึงควรซื้อผ้าฝ้ายธรรมชาติที่ซักด้วยมือจะดีกว่า
8.ผ้าดูแลรักษาง่าย ไม่ควรซื้อเพราะในเส้นใยผ้ามีสารฟอร์มาลดีไฮด์ซึ่งเป็นสารอันตราย
9.สารฟอกขาว ผ้ายีนส์ส่วนใหญ่ มักมีสารฟอกขาวจึงควรซักบ่อยๆ เพื่อชะล้างสารเคมีออกไปก่อนใส่
10.ไม่เปื้อน หากเป็นผ้าที่สิ่งสกปรกไม่ติดผ้าก็ไม่ควรซื้อเพราะผ้าเหล่านี้มีสารเคมีอันตราย




อันตรายจากสีสังค์เคราะห์ !!!

สีสังเคราะห์เป็นสารแปลกปลอม เมื่อผสมอาหารและรับประทานเข้าไป ในร่างกาย ก็จะเกิดอันตรายได้ ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุ 2 ประการ คือ
1. อันตรายจากสีเอง เพราะสีทุกชนิดถ้าใช้มากเกินไป จะเป็นอันตรายต่อ ผู้บริโภคไม่มากก็น้อย เนื่องจากเป็นสารแปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย หากร่างกาย ขับถ่ายออกไม่ทัน ก็จะสะสมอยู่ในร่างการแล้วอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้ 
2. อันตรายจากสารอื่น ที่ติดมาเนื่องจากการสังเคราะห์ หรือจากกระบวน การผลิตที่แยกเอาสารเจือปนออกไม่หมด สารดังกล่าวได้แก่ โลหะหนักต่าง ๆ เซ่น โครเมียม แคดเมียม ปรอท ตะกั่ว สารหนู พลวง และเซเสเนียม เป็นต้น ซึ่งมีอยู่กับ สีย้อมผ้า แพร เสื่อและสีทาบ้าน โลหะหนักเหล่านี้จะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ แม้ได้รับเพียงปริมาณเล็กน้อย อาการอาจเป็นทั้งอย่างฉับพลันและเรื้อรัง ซึ่งพิษ ของโลหะหนักนี้ถ้าเป็นมากอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุ ของมะเร็งที่อวัยวะอื่นๆ อีกด้วย จะเห็นได้ว่าสีผสมอาหารนั้นไม่ให้คุณค่าอะไรแก่ร่างกาย และก็ไม่มีความ จำเป็นใด ๆ ที่จะต้องใช้เลย กลับทำให้เกิดอันตรายได้อีกด้วย ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยง การใช้และบริโภคอาหารที่ไม่ได้ผสมสีเท่านั้น

สีสังค์เคราะห์

 สีสังเคราะห์ หมายถึง สีที่เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากการสังเคราะห์ ที่ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ในกลุ่ม สีผสมอาหาร (food color) ซึ่งมีลักษณะถูกต้องตามข้อกำหนดและปลอดภัยต่อการบริโภค สีสังเคราะห์มีราคาถูกกว่าสีธรรมชาติ ให้สีสดและสมํ่าเสมอและให้สีในช่วงที่กว้างกว่าสีธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีขายทั้งในรูปแม่สี และสีผสมในรูปผง สารละลาย และสารละลายแขวนลอย ซึ่งสะดวกต่อการเลือกใช้กับอาหารชนิดต่างๆ ดังนั้น ผู้ใช้จึงนิยมใช้สีสังเคราะห์มากกว่าสีธรรมชาติ ถึงแม้ว่าสีธรรมชาติจะปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากกว่า


วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สีที่ได้จากสมุนไพรธรรมชาติ

- นอกจากใบไม้และเปลือกผลไม้ตามธรรมชาติแล้วยังมีดอกไม้สมุนไพรที่สามารถใช้ย้อมสีผ้าได้อีกด้วย เช่น

เตยหอม
ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ  ปาแนะวองิง
ชื่อภาษาอังกฤษ  -
ชื่อวิทยาศาสตร์  Pandanus amaryllifoius Roxb.
วงศ์  Pandanaceae
     เตยหอมเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่ขึ้นเป็นกอ ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะใกล้น้ำ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียอาคเนย์ ใบมีลักษณะยาวเรียวคล้ายหอก ปลายใบแหลม มีหนามตามขอบใบ ใช้แต่งกลิ่นและแต่งสีให้อาหารมีสีเขียว
ส่วนที่ใช้เตรียมสี  ใบสด
ประโยชน์
1. ใบเตยสดใช้แต่งสีเขียวและแต่งกลิ่นอาหาร โดยเฉพาะขนมหวาน เช่น สลิ่ม ลอดช่อง ขนมเปียกปูน วุ้นกะทิ ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังใช้แต่งกลิ่นข้าวมันและใช้น้ำใบเตยเป็นเครื่องดื่มอีกด้วย
2. ในตำรายาไทย ใช้ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น
วิธีเตรียมสีเขียวจากใบเตย
   ใช้ใบเตยสดที่ค่อนข้างแก่ ล้างให้สะอาด นำมาหั่นตามขวาง โขลกให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย กรองผ่านผ้าขาวบางจะได้น้ำสีเขียวและมีกลิ่นหอม ใช้ผสมลงในแป้งทำสลิ่มหรือลอดช่องที่กวนเกือบได้ที่ ไม่ควรใช้ความร้อนสูงเพราะสีเขียวจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเหลือง

กรรณิการ์
ส่วนที่ใช้เตรียมสี   ดอก
ประโยชน์
1. น้ำคั้นจากส่วนของดอกที่เป็นหลอดสีส้ม ใช้แต่งสีขนมให้มีสีเหลือง เช่น ขนมน้ำดอกไม้ และยังใช้ย้อมผ้าให้มีสีเหลืองทอง ในสมัยโบราณเคยใช้ย้อมจีวรพระ
2. ในตำรายาไทย ใช้ดอกเป็นยาแก้ไข้ ในชวาใช้ดอกรับประทานเป็นยาคุมกำเนิด
วิธีเตรียมสีเหลืองจากดอกกรรณิการ์
   เด็ดเอาส่วนของโคนดอกที่เป็นหลอดสีส้ม นำมาตำ เติมน้ำเล็กน้อย คั้น กรอง จะได้สารละลายสีเหลืองใส ใช้แต่งสีขนม

ตาล

ส่วนที่ใช้เตรียมสี   ผลแก่สุก
ประโยชน์ 
1. เนื้อสีเหลืองจากผลสุก ใช้แต่งสีและแต่งกลิ่นขนม เช่น ขนมตาล ขนมบัวลอย ขนมขี้หนูและไอศกรีม เป็นต้น
2. น้ำหวานจากงวงตาล ใช้ทำน้ำตาลโตนด น้ำตาลสดและน้ำตาลเมา
3. เมล็ดอ่อน เรียกว่า ลอนตาล ใช้เป็นอาหาร เมล็ดแก่ เมื่อนำมาเพาะให้งอก ภายในจะมีจาวตาล นำมาเชื่อมเป็นขนมหวาน
วิธีเตรียมสีเหลืองจากลูกตาล
   นำลูกตาลสุกมาปอกเปลือกสีน้ำตาลดำออก จะเห็นเส้นใยสีเหลืองแฉะ ๆ หุ้มเมล็ดไว้ใช้มือนวดเอาเนื้อที่เป็นสีเหลืองออกให้หมด เทลงถุงผ้าหนา ๆ ใช้ของหนัก ๆ ทับให้น้ำแห้ง จะได้เนื้อลูกตาลสีเหลืองใช้ทำขนมตาลและใช้แต่งสีเหลืองในขนมอื่น ๆ

กระเจี๊ยบแดง
ส่วนที่ใช้เตรียมสี   กลีบเลี้ยง
ประโยชน์ 
1. กลีบเลี้ยงใช้ทำน้ำกระเจี๊ยบ แยมและผลไม้กวน จะได้ทั้งรสเปรี้ยวและสีแดง ใบอ่อนและยอดใช้เป็นอาหาร
2. ในทางยา กลีบเลี้ยงใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยรักษานิ่วช่วยลดความดันโลหิต และป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
วิธีเตรียมสีแดงจากกระเจี๊ยบแดง
    นำกลีบเลี้ยงแห้งที่สะอาดมาต้มกับน้ำร้อน จะได้สารละลายสีแดงเข้มและมีรสเปรี้ยว ใช้แต่งสีน้ำหวาน ไวน์และเยลลี่

คำแสด
ส่วนที่ใช้เตรียมสี   เมล็ด
ประโยชน์
   สีจากเมล็ดใช้แต่งสีอาหารให้มีสีแดงส้ม เช่น แต่งสีขนม ไอศกรีม เนย น้ำมัน และใช้ย้อมผ้า ฝ้ายและผ้าไหมให้มีสีแดงส้มได้อีกด้วย
วิธีเตรียมสีแดงส้มจากเมล็ดคำแสด
   นำเมล็ดมาบดแล้วแช่น้ำ จะได้สารละลายซึ่งมีตะกอนแดง ละลายอยู่ กรองเอากากออก ตั้งทิ้งไว้สีจะตกตะกอน นอนก้น รินน้ำใส ๆ ข้างบนออก นำที่เหลือไประเหยน้ำออก จะได้ผลสีแดงส้ม นำไปใช้แต่งสีอาหารตามต้องการ